นิทานเวตาล เป็นฉบับพระนิพนธ์พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยเรื่องเดิมมีชื่อว่า เวตาลปัญจวิงศติ (Vetala Panchvim shati แปลว่า นิทาน 25 เรื่องของเวตาล (ปัญจะ = 5, วิงศติ = 20) ศิวทาสได้แต่งไว้แต่โบราณ และโสมเทวะได้นำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่และรวมไว้ในหนังสือชื่อ กกาสริตสาคร (Katha - sarita - sagara) ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 12
ต่อมาในระหว่าง ค.ศ. 1719 - 1747 พระราชาแห่งกรุงชัยปุระโปรด ฯ ให้แปลนิทานเวตาลจากฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอื่น ๆ อีก และต่อมามีผู้นำมาแปลเป็นภาษาฮินดี เรียกชื่อเรื่องว่า ไพตาลปัจจีสี (Baital Pachisi) รวมทั้งยังมีการนำมาแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีกแทบทุกภาษา
ต่อมาในระหว่าง ค.ศ. 1719 - 1747 พระราชาแห่งกรุงชัยปุระโปรด ฯ ให้แปลนิทานเวตาลจากฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอื่น ๆ อีก และต่อมามีผู้นำมาแปลเป็นภาษาฮินดี เรียกชื่อเรื่องว่า ไพตาลปัจจีสี (Baital Pachisi) รวมทั้งยังมีการนำมาแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีกแทบทุกภาษา
ผู้แต่ง
พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)
ลักษณะคำประพันธ์
นิทานร้อยแก้ว มีบทร้อยกรองแทรกบางตอน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
ให้ความบันเทิง และแทรกคติธรรม
ความเป็นมา
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง
และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี.เอช.ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทย
ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ 10 เรื่อง นิทานเวตาลมีที่มาจากวรรณกรรมของอินเดียทั้งที่เป็น
ภาษาบาลีและสันสกฤต มักปรากฏรูปแบบนิทานซ้อนนิทานอยู่เป็นจำนวนมาก
นิทานเรื่องใหญ่ของนิทานเวตาลเล่านั้นเป็นนิทานซึ่งแยกออกเป็น 10 เรื่อง มีต้นเรื่องและปลายเรื่องกำกับ
ชี้แจงเหตุเกิดของเรื่อง พฤติกรรมของเวตาลและข้อสรุปซึ่งเต็มไปด้วยสาระ ความรู้ ความสนุกสนาน
และยังมีบทร้อยกรองที่แฝงคติรรมแทรกอยู่โดยตลอด อ่านเพิ่มเติม
พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)
ลักษณะคำประพันธ์
นิทานร้อยแก้ว มีบทร้อยกรองแทรกบางตอน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
ให้ความบันเทิง และแทรกคติธรรม
ความเป็นมา
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง
และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี.เอช.ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทย
ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ 10 เรื่อง นิทานเวตาลมีที่มาจากวรรณกรรมของอินเดียทั้งที่เป็น
ภาษาบาลีและสันสกฤต มักปรากฏรูปแบบนิทานซ้อนนิทานอยู่เป็นจำนวนมาก
นิทานเรื่องใหญ่ของนิทานเวตาลเล่านั้นเป็นนิทานซึ่งแยกออกเป็น 10 เรื่อง มีต้นเรื่องและปลายเรื่องกำกับ
ชี้แจงเหตุเกิดของเรื่อง พฤติกรรมของเวตาลและข้อสรุปซึ่งเต็มไปด้วยสาระ ความรู้ ความสนุกสนาน
และยังมีบทร้อยกรองที่แฝงคติรรมแทรกอยู่โดยตลอด อ่านเพิ่มเติม
ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/2266/002909